ข้ามไปเนื้อหา

วิลเลียม ฟอกซ์ แทลบอต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิลเลียม ฟอกซ์ แทลบอต

เอฟอาร์เอส, เอฟอาร์เอสอี, เอฟอาร์เอเอส
Henry Fox Talbot
ดาแกโรไทป์โดย อ็องตวน โกลด์ ราวปี 1844
เกิดวิลเลียม เฮนรี ฟอกซ์ แทลบอต
11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1800(1800-02-11)
เมลเบอร์รี ดอร์เซต ประเทศอังกฤษ ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่
เสียชีวิต17 กันยายน ค.ศ. 1877(1877-09-17) (77 ปี)
ลาคอกฟ์ วิลต์เชอร์ ประเทศอังกฤษ สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์
อาชีพนักวิทยาศาสตร์, นักประดิษฐ์
มีชื่อเสียงจากผู้บุกเบิกการถ่ายภาพ
คู่สมรสคอนสแทนซ์ แทลบอต
รางวัลเหรียญหลวง (ค.ศ. 1838)
เหรียญรัมฟอร์ด (ค.ศ. 1842)
วิลเลียม ฟอกซ์ แทลบอต

วิลเลียม เฮนรี ฟอกซ์ แทลบอต ( William Henry Fox Talbot ) (11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1800 - 17 กันยายน ค.ศ. 1877) นักวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้ทดลองค้นคว้าเกี่ยวกับสารเคมีไวแสงที่จะนำมาฉาบลงบนกระดาษมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1833 จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1835 เขาได้ค้นพบว่า “เงินคลอไรด์”( Silver Chloride ) เป็นสารที่มีความไวต่อแสงสว่าง ซึ่งสามารถฉาบลงบนกระดาษได้ ทำให้ได้กระดาษไวแสงที่จะนำไปอัดภาพ เขาได้ทดลองนำใบไม้ ขนนก มาวางทับกระดาษไวแสง พบว่า ส่วนที่วัตถุทับอยู่จะเป็น สีขาวแต่ส่วนที่ถูกแสงสว่างจะเป็นสีดำ เมื่อนำไปล้างในสารละลายเข้มข้นของโซเดียมคลอไรด์ ได้ภาพที่เรียกว่า “ภาพPhotogenic Drawing” ที่มีลักษณะเป็นสีตรงข้ามกับต้นแบบคือ ขาวเป็นดำ และดำเป็นขาว หรือที่เรียกว่า "ภาพเนกาตีฟ" ในปัจจุบัน ซึ่งแทลบอตใช้เป็นต้นแบบในการอัดภาพ ภาพต่อๆ มาจะเป็นภาพโพสิตีฟ ฉะนั้นวิธีการของแทลบอตจึงดีเท่ากระบวนการของดาร์แกโรไทพ์ ตรงนี้สามารถอัดภาพได้หลายภาพตามต้องการ แต่ก็มีข้อด้อยตรงที่เมื่อเก็บไว้นาน ๆ สีของภาพจะซีดจางลง

ต่อมาแทลบอตได้ปรับปรุงกระบวนการของเขาหลายขั้นตอนทั้งการถ่ายและการล้างทำให้ได้ภาพที่ดีขึ้นเท่าเดิม ซึ่งเขาตั้งชื่อกระบวนการนี้ว่า “คาโลไทพ์” ( Calotype ) ซึ่งแปลว่า ความประทับใจในภาพที่สวยงามแต่เพื่อน ๆ ของเขาแนะนำว่าควรใช้ชื่อ แทลบอตไทพ์ (Talbotype ) ในปี ค.ศ. 1844 แทลบอตได้เผยแพร่ผลงานของเขาโดยเขียนหนังสือ " The pencil of Nature " แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการถ่ายภาพ ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก

การเผยแพร่ของแทลบอต

[แก้]

สิ่งที่ทำให้แทลบอตมีชื่อเสียง ได้แก่ ผลงานเกี่ยวกับหนังสือที่เขาเขียนขึ้น เมื่อ ค.ศ. 1844 เขาเขียนหนังสือเล่มหนึ่ง ชื่อ “The pencil of nature” ซึ่งใช้แสงสว่างมาวาดภาพให้สวยงามเหมือนธรรมชาติโดยใช้กระดาษไวแสงแทนกระดาษวาดภาพ หนังสือเล่มนี้ไม่ได้มีจำนวนตีพิมพ์มากนัก ในเล่มมีภาพประกอบเป็นจำนวนมาก ทั้งภาพบุคคล ทิวทัศน์ ธรรมชาติ และความเป็นอยู่ของคน หลังจากหนังสือได้เผยแพร่ออกไปทำให้ประชาชนนิยมวิธีการแทลบอต ไทพ์มากขึ้น